หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2553

การปฏิรูปการปกครองสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว





    การปรับปรุงการบริหารราชการในส่วนกลาง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงยกเลิก ตำแหน่ง อัครเสนาบดี 2 ตำแหน่ง คือ สมุหกลาโหม และสมุหนายก รวมทั้งจตุสดมถ์ โดยการแบ่งการบริหารราชการออกเป็นกระทรวงตามแบบอารยะประเทศ และให้มีเสนาบดีเป็นผู้ว่าการแต่ละกระทรวง กระทรวงที่ตั้งขึ้นทั้งหมดเมื่อ พ.ศ. 2435 มี 12 กระทรวง คือ


1. มหาดไทย บังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนือและเมืองลาว


2. กลาโหม บังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายใต้ หัวเมืองฝ่ายตะวันออก


ตะวันตก และเมืองมลายู


3. ต่างประเทศ จัดการเรื่องเกี่ยวกับการต่างประเทศ


4. วัง กิจการในพระราชวัง


5. เมืองหรือนครบาล จัดการเกี่ยวกับเรื่องตำรวจและราชฑัณฑ์


6. เกษตราธิการ ว่าการเกี่ยวกับการเพาะปลูก เหมืองแร่ ป่าไม้


7. คลัง ว่าการภาษีอากรและงบประมาณแผ่นดิน


8. ยุติธรรม จัดการเรื่องชำระคดีและการศาล


9. ยุทธนาธิการ จัดการเกี่ยวกับเรื่องการทหาร


10. ธรรมการ ว่าการเรื่องการศึกษา การสาธารณสุขและสงฆ์


11. โยธาธิการ ว่าการเรื่องการก่อสร้าง ถนน คลอง การช่าง


ไปรษณีย์โทรเลข และรถไฟ


12. มุรธาธิการ เกี่ยวกับการรักษาตราแผ่นดิน


และงานระเบียบสารบรรณ




    ภายหลังได้ยุบกระทรวงยุทธนาธิการไปรวมกับกระทรวงกลาโหม และยุบกระทรวงมุรธาธิการ ไปรวมกับกระทรวงวัง คงเหลือเพียง 10 กระทรวง เสนาบดีทุกกระทรวงมีฐานะเท่าเทียมกัน และประชุมร่วมกันเป็น เสนาบดีสภา ทำหน้าที่ปรึกษาและช่วยบริหารราชการแผ่นดินตามที่พระมหากษัตริย์ทรงมอบหมาย เพราะอำนาจสูงสุดเด็ดขาดเป็นของพระมหากษัตริย์ตามระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังทรงแต่งตั้ง สภาที่ปรึกษา ในพระองค์ ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนเป็น รัฐมนตรีสภา ประกอบด้วยเสนาบดี หรือผู้แทนกับผู้ที่โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งรวมกันไม่น้อยกว่า 12 คน จุดประสงค์เพื่อเป็นที่ปรึกษาและคอยทัดทานอำนาจพระมหากษัตริย์ แต่การปฏิบัติหน้าที่ของสภาดังกล่าวหาได้บรรลุจุดประสงค์ที่ทรงหวังไว้เพราะสมาชิกส่วนใหญ่ไม่กล้าที่จะโต้แย้ง พระราชดำริส่วนใหญ่มักพอใจที่จะปฏิบัติตามมากกว่าที่จะแสดงความคิดเห็น


    นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังทรงแต่งตั้งองคมนตรีสภาขึ้นอีก ประกอบขึ้นด้วยสมาชิกเมื่อแรกตั้งถึง 49 คน มีทั้งสามัญชน ตั้งแต่ชนชั้นหลวงถึงเจ้าพระยาและพระราชวงศ์ องคมนตรีสภานี้อยู่ในฐานะรองจากรัฐมนตรีสภา เพราะข้อความที่ปรึกษา และตกลงกันในองคมนตรีสภาแล้ว จะต้องนำเข้าที่ประชุมรัฐมนตรีสภาแล้วจึงจะเสนาเสนาบดีกระทรวงต่างๆ


    ในด้านการปกครองท้องถิ่น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงจัดให้มีการบริหาราชการส่วนท้องถิ่นในรูปสุขาภิบาล ซึ่งมีหน้าที่คล้ายเทศบาลในปัจจุบันเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2440 โดยโปรดเกล้าฯให้ตราพระราชบัญญัติสุขาภิบาล กรุงเทพฯ ร.ศ. 116 (พ.ศ. 2440) ขึ้นบังคับใช้ในกรุงเทพฯ ต่อมาได้ขยายไปที่ท่าฉลอม ปรากฏว่าดำเนินการได้ผลดีเป็นอย่างมากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.ศ. 2448 ขึ้น โดยแบ่งสุขาภิบาลออกเป็น 2 ประเภท คือ สุขาภิบาลเมือง และสุขาภิบาลตำบล ท้องถิ่นใดเหมาะสมที่จะจัดตั้งสุขาภิบาลใดก็ให้ประกาศตั้งสุขาภิบาล ในท้องถิ่นนั้น


สำหรับการปกครองส่วนภูมิภาค พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองท้องที่ พ.ศ. 2475 ขึ้น เป็นผลให้ในการปกครองแบ่งประเทศออกเป็นมณฑล ถัดจากมณฑลก็คือ เมือง ซึ่งต่อมาเรียกเป็นจังหวัด จากจังหวัดแบ่งเป็นอำเภอ โดยกระทรวงมหาดไทยตั้งข้าราชการจากส่วนกลางไปปกครองทั้ง 3 ระดับ อำเภอแบ่งเป็นหมู่บ้าน มีกำนันเป็นผู้ปกครอง


     แม้ว่าการปกครองในสมัยรัตนโกสินทร์จะเป็นแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่พระราชกรณียกิจบางประการของพระมหากษัตริย์ก็ถือได้ว่าเป็นการปูพื้นฐานการปกครองแบบประชาธิปไตย โดยเฉพาะในสมัยพระบาสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงดำเนินการดังต่อไปนี้


1. การเลิกทาส พระบาสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประกาศเลิกทาสเมื่อ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2417 นโยบายการเลิกทาสของพระองค์นั้นเพื่อให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาคทัดเทียมกันอันเป็นหลักการสำคัญของระบอบประชาธิปไตย


2. สนับสนุนการศึกษา ทรงจัดตั้งโรงเรียนเพื่อสนับสนุนให้คนไทยได้มีโอกาสเล่าเรียนศึกษา หาความรู้ ตั้งทุนพระราชทาน ส่งผู้มีความสามารถไปศึกษาต่อต่างประเทศ จากการสนับสนุนการศึกษาอย่างกว้างขวางนี้ นับได้ว่าเป็นรากฐานของการเปลี่ยนแปลงแนวความคิดในการปกครองประเทศสู่ระบอบประชาธิปไตย


3.การปฏิรูปการปกครอง การปฏิรูประบอบบริหารราชการ ทรงเปิดโอกาสให้ข้าราชการมีส่วนรับผิดชอบในการบริหารมากขึ้น ทรงสนับสนุนการปกครองท้องถิ่นด้วยการจัดตั้งสุขาภิบาล ทำให้ประชาชนธรรมดามีส่วนและมีโอกาสเรียนรู้ประสบการณ์การบริหารการปกครอง ตามหลักการประชาธิปไตยที่ต้องการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองบ้านเมือง






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น